SLider section

คั่วหน่อไม้

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

คั่วหน่อไม้

ความเป็นมา

ในภาษาเหนือ คั่ว หมายถึงการผัด คั่วหน่อไม้ ก็คือผัดหน่อไม้  เป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมทำทานภายในครัวเรือน

 

คุณค่าทางโภชนาการ

หน่อไม้เป็นอาหารที่ให้เส้นใยสูงจึงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เมื่อหน่อไม้ผ่านการย่อยร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย อีกทั้งยังมีโปรตีนจากเนื้อหมูและคุณค่าทางโภชนาการจากเครื่องปรุงต่างๆ

 

ส่วนผสม

หน่อไม้                             300    กรัม

เนื้อหมูสามชั้น                  50      กรัม

พริกชี้ฟ้า                           15      กรัม

กระเทียมสับ                      1        ช้อนโต๊ะ

น้ำมันพืช สำหรับผัด

เครื่องแกง

พริกขี้หนู                           7        เม็ด

กระเทียม                         15        กรัม

หอมแดง                          20      กรัม

กะปิ                                  1        ช้อนชา

ปลาร้า                              1        ช้อนโต๊ะ

เกลือ                               1/2     ช้อนชา

วิธีทำ

นำหน่อไม้ไปต้มจนสุก จากนั้นนำมาฉีกหรือหั่นเป็นเส้นๆ พักไว้ จากนั้นโขลกหรือตำเครื่องแกงให้ละเอียด ตั้งกระทะใส่น้ำมันเจียวกระเทียมให้พอเหลือง ใส่พริกแกงลงไปผัดให้หอม ใส่เนื้อหมูสามชั้นผัดให้สุก ใส่พริกชี้ฟ้า และหน่อไม้ผัดให้เข้ากันจนสุกทั่ว ตักเสิร์ฟ

ภาค กลาง

หมี่กรอบ

ความเป็นมา หมี่กรอบเป็นอาหารที่มีความเป็นจีนและไทยผสมผสานกัน เพราะเส้นหมี่หรือก๋วยเตี๋ยว และเทคนิควิธีการทอดโดยใช้น้ำมันร้อนท่วมมีต้นกำเนิดมาจากจีน แต่เมื่อทอดแล้วนำมาปรุงรสอย่างไทยให้มีรสเปรี้ยวหวานจากน้ำส้มมะขาม น้ำตาลปี๊บ ทั้งส่วนผสม เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว รวมทั้งถั่วงอกและใบกุยช่ายก็เป็นผักของจีน แต่ต้องมีรสซ่าหอมจากผิวส้มซ่าซึ่งใช้โรยหน้าหมี่กรอบ และเป็นส่วนผสมหรือเอกลักษณ์สำคัญที่จะขาดไม่ได้   คุณค่าทางโภชนาการ เส้นหมี่ทำจากแป้งข้าวเจ้าที่ให้คาร์โบไฮเดรตพอสมควร มีโปรตีนที่ได้จากหมูและกุ้ง และโปรตีนจากถั่ว เช่น เต้าหู้ ไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดหมี่และผัด และได้กากใยอาหาร วิตามินซี จากผักสดที่มากินคู่กันอย่าง หัวปลีสด ใบบัวบก และธาตุเหล็กจากใบกุยช่ายสด   ส่วนผสม เส้นหมี่อบแห้ง                            100 กรัม หมู กุ้ง หั่นชิ้นเล็กรวมกัน              80   กรัม หอมแดงสับ                               2     ช้อนโต๊ะ กระทียมสับ                                1     ช้อนโต๊ะ เต้าหู้แข็งหั่นฝอย                        50   กรัม ไข่ไก่                                        2     ฟอง น้ำส้มสายชู                               1     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ เต้าเจี้ยวดำบด                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำมันสำหรับผัดเครื่องและทอดหมี่ กระเทียมดองซอยบาง ผิวส้มซ่าหั่นฝอย พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย ผักชี สำหรับโรยหน้า ผักแนม ถั่วงอก ใบกุยช่าย วิธีทำ นำเส้นหมี่อบแห้งลงทอดในน้ำมันร้อนจัดให้ฟูตักขึ้นพักไว้ ทอดเต้าหู้ และทำไข่ฝอยพักไว้ จากนั้นจึงทำน้ำปรุงรส โดยผัดหอมแดง และกระเทียมสับให้หอม ใส่หมูและกุ้ง ผัดให้สุก ปรุงรสและเคี่ยวจนเริ่มงวดเล็กน้อย จากนั้นนำเต้าหู้ทอดลงไปผัดรวมกัน ใส่หมี่ทอดกรอบคลุกให้เข้ากันจนทั่ว ตักขึ้นพักให้เย็น โรยหน้าด้วยเครื่องแต่งหน้า ผัก และไข่หั่นฝอย


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ผักกาดจอ

ความเป็นมา ผักกาดจอหรือจอผักกาด เป็นอาหารที่ใช้ผักกวางตุ้งที่กำลังออกดอกในการปรุง นิยมรับประทานกันแพร่หลายในทุกจังหวัดของภาคเหนือ สูตรผักกาดจอมีความแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น   คุณค่าทางโภชนาการ ผักกวางตุ้งมีแคลเซียมสูงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง   ส่วนผสม ผัดกาดกวางตุ้งหั่นท่อน                    2        กิโลกรัม กระดูกซี่โครงหมู หั่นเป็นชิ้น              1/2     กิโลกรัม หอมแดง                                     30      กรัม กระเทียม                                    20      กรัม กระเทียมสับ                                2        ช้อนโต๊ะ กะปิ                                            1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าสับ                                    1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                                          1        ช้อนโต๊ะ มะขามเปียก                                1        ถ้วย น้ำมันพืช                                    3        ช้อนโต๊ะ พริกแห้งทอด                               5        เม็ด วิธีทำ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใส่ซี่โครงหมูลงไปต้มจนนุ่ม โขลกกระเทียม หอมแดง กะปิ เกลือ ปลาร้าสับ ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นใส่ลงไปในหม้อต้มรอจนเดือดอีกครั้ง ใส่ผักกวางตุ้งลงไป ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรส ตั้งจนเดือดอีกครั้งปิดไฟ จากนั้นนำกระเทียมสับไปเจียวให้เหลืองหอม โรยหน้าพร้อมพริกแห้ง    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ยำไตปลา

    ความเป็นมา ยำไตปลาเป็นการนำไตปลาซึ่งเป็นของหมักดองมาปรุงอาหารให้อร่อยอีกเมนูหนึ่งซึ่งโดยทั่วไปคนนิยมนำไปทำแกงไตปลา แต่ยำจานนี้เป็นยำไตปลาที่ใส่กะทิให้มีรสมัน มีกลิ่นหอมจากสมุนไพรสดต่างๆ ที่ซอยใส่รวมไปกับเนื้อปลา และมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน อร่อยอย่างยำทั่วไป   คุณค่าทางโภชนาการ ไตปลาเป็นของหมักดองจากพุงปลา กระเพาะปลาที่มีโปรตีนสูง ในขณะเดียวกันก็ได้โปรตีนจากเนื้อปลาย่างที่ใส่รวมไปด้วย ไขมันจากกะทิ และกลิ่นรสสดชื่นที่ทำให้หายใจได้โล่งโปร่งสบายจากสมุนไพรสด เช่น พริก หอม ข่า ตะไคร้ เป็นต้น   ส่วนผสม ไตปลา                                        200    กรัม ข่า ตะไคร้ ขมิ้น บุบ  ใบมะกรูด 4-5 ใบ สำหรับต้มไตปลา หัวกะทิ                                           1        ถ้วย ตะไคร้ซอยบาง                              ½       ถ้วย หอมแดงซอยบาง                           ½       ถ้วย ข่าซอยเป็นเส้น                                1        ช้อนโต๊ะ กระชายซอยเป็นเส้น                        ¼       ถ้วย พริกขี้หนูซอย                                    5        กรัม ใบมะกรูดซอย                                    5        ใบ น้ำมะนาว                                              2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว                                     2        ช้อนโต๊ะ เนื้อปลาทูย่างหรือเนื้อปลาโอย่าง        80      กรัม วิธีทำ ต้มไตปลากับข่า ตะไคร้ ขมิ้น ใบมะกรูด ต้มจนเดือด กรองไตปลา พักไว้แบ่งไตปลาที่ต้มไว้ประมาณ  3-4 ช้อนโต๊ะมาต้มกับกะทิ พอเดือดใส่เนื้อปลา ยกลงปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำตาล ใส่สมุนไพร และเนื้อปลาที่เตรียมไว้ทั้งหมด คลุกให้เข้ากัน ชิมรส กินกับผักสดต่างๆ      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire